ประวัติความเป็นมา


พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 โดยพระครูศรีผ่อง โกวิโท (บุญเป็ง) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศ ตามราชทินนามพระครูโกวิทธรรมโสภณ ตำแหน่งเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีความสนใจเป็นพิเศษในการอนุรักษ์ศาสนวัตถุที่มีคุณค่า พระพุทธรูปโบราณโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ เครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน อันเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่การสืบทอดมานาน เป็นสิ่งของหลายร้อยหลายพันอย่าง ที่สูญหายไป และที่ยังพบเห็นอยู่ทั่วไปก็มี เพียงก้าวแรก ที่หันมาสนใจอนุรักษ์ของเก่า ประเภทเครื่องใช้ในชีชีวิตประจำวัน พร้อมกับเห็นอะไรเก่าๆ เช่น ถ้วย ชาม กระเบื้อง ฯลฯ ก็นำมาวางๆไว้ รวมกันได้ประมาณ 100 ชิ้น

ชาวบ้านใกล้เคียงมาพบเข้าก็เริ่มสนใจสอบถามถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาสิ่งของบางอย่างคนรุ่นใหม่

ไม่ทราบว่าเป็นอะไรและไม่รู้ถึงประโยชน์ใช้สอยทำให้พระครูโกวิทธรรมโสภณ ต้องอธิบายขยายความเป็นรายๆไป จนกระทั่งศรัทธาประชาชนในหมู่บ้าและตำบลใกล้เคียงต่างทราบก็นำวัตถุโบราณสิ่งของเครื่องใช้เก่าๆ พระพุทธรูปเก่า มาถวายไว้เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดมากขึ้นนับรวมแล้วมีประมาณ 1,000 ชิ้น คณะกรรมการวัดเริ่มเห็นว่าสถานที่เก็บรักษาคับแคบ จึงได้ขยายตู้เก็บเข้าไว้ในกุฏิถึง 3 ห้องแต่ก็ไม่สะดวกสำหรับศรัทธาประชาชนที่จะเข้าชมเพราะคับแคบมาก ท่านพระครูโกวิทธรรมโสภณ จึงได้ก่อสร้างอาคารหลังปัจจุบันขึ้น แล้วนำวัตถุโบราณพื้นบ้าน เครื่องใช้ไม้สอยของใช้ในพระพุทธศาสนาต่างๆ จัดเข้าไว้ในอาคารใหม่เป็นสัดส่วนเรื่องนี้ได้ทราบไปถึงศรัทธา ญาติโยม ต่างนำของมาบริจาคอยู่ตลอด

จนกระทั่งปัจจุบันรวมแล้วมีโบราณวัตถุและศิลปวัตถุพื้นบ้าน 6,000 กว่าชิ้น และมีศรัทธาจากที่อื่นมา บริจาคให้แก่พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งจึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์หลังที่ 2 ขึ้นเพื่อจัดแสดงวัตถุที่ได้รับมา ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการถาวร อาทิ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง การดำเนินชีวิตของชาวบ้านวัฒนธรรมและประเพณี    ปัจจุบันมีโบราณวัตถุมากมาย

ซึ่งล้วนได้มาจากการบริจาคหรือถวายให้กับวัดเพื่อส่วนรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง โดยมิได้หาซื้อมาแต่อย่างใด เมื่อบริจาคเข้ามาก็ได้จัดทำบัญชีไว้ เก็บสิ่งสิ่งของต่างๆ ไว้อย่างดีตามหลักวิชาอนุรักษ์ทางโบราณคดี

เมื่อมีศรัทธามาเยี่ยมชมมากขึ้น ได้พบเห็นว่าวัดเก็บรักษาของเก่าแก่โบราณเอาไว้ดี ก็มีความวางไว้ใจถวายสิ่งของให้ตลอดเวลา